USA

[vc_row][vc_column][vc_single_image image=”908″ alignment=”center” style=”vc_box_rounded” border_color=”grey” img_link_target=”_self” img_size=”full”][vc_column_text]

ดินแดนแห่งเสรีภาพ

ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่กว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งนักเรียนไทยจะรู้จักเมืองใหญ่ๆเป็นอย่างดี เช่น New York, Boston, Chicago, Los Angeles, San Francisco ด้วยความที่เป็นประเทศใหญ่ ฉะนั้นจึงทำให้มีสภาพอากาศรวมถึงสิ่งแวดล้อมความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ

อเมริกาแบ่งออกเป็น 6 โซน (Time zone) ดังนี้

  • Eastern Time (EST) จะช้ากว่าไทย 10 ชม. (Summer จะช้ากว่า 10 ชม.)
  • Central Time (CST) จะช้ากว่าไทย 11 ชม. (Summer จะช้ากว่า 12 ชม.)
  • Mountain Time (MST) จะช้ากว่าไทย 12 ชม. (Summer จะช้ากว่า 13 ชม.)
  • Pacific Time (PST) จะช้ากว่าไทย 13 ชม. (Summer จะช้ากว่า 14 ชม.)
  • Alaska Time (AKST) จะช้ากว่าไทย 15 ชม. ตลอดทั้งปี
  • Hawaii Time (HAST) จะช้ากว่าไทย 17 ชม. ตลอดทั้งปี

ภูมิอากาศ

สหรัฐอเมริกามีสภาพภูมิอากาศที่ค่อนข้างหลากหลายและแตกต่างกันไปแต่ละเขต เนื่องจากภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ โดยทั่วไปแล้วประเทศสหรัฐอเมริกาจะมีสภาพอากาศค่อนข้างเย็นกว่าประเทศไทยเนื่องจากสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ทางแถบตะวันออกของประเทศอากาศในช่วงฤดูหนาว และฤดูร้อนจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนทางด้านชายฝั่งตะวันตกค่อนข้างจะมีฝนตกบ่อย มีหิมะตกพอสมควร ปริมาณแสงแดดก็มีไม่มากนัก ทางตอนกลางของประเทศมีหิมะตกพอสมควรถึงหนักมาก แสงแดดค่อนข้างมาก

สกุลเงินตรา (Currency)

ใช้หน่วยเป็นดอลล่าร์ (dollar) มี 1 ดอลล่าร์ เท่ากับ 100 เซนต์ โดยการเรียกชื่อดังนี้

  • 1 เซ็นต์ เรียกว่า เพนนี (Penny)
  • 5 เซ็นต์ เรียกว่า นิกเกิ้ล (Nickel)
  • 10 เซ็นต์ เรียกว่า ไดม์ (Dime)
  • 25 เซ็นต์ เรียกว่า ควอเตอร์ (Quarter)
  • 1 ดอลลาร์ เรียกว่า บั๊ก (buck)
  • 1,000 ดอลล่าร์ เรียกว่า แกรนด์ (grand)

รถโดยสารประจำทาง

รถโดยสารประจำทางในสหรัฐอเมริกาจะมีบริการทั้งภายในเมืองและระหว่างเมือง ในเมืองใหญ่ๆ จะมีรถโดยสารประจำทางบริการตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนในเมืองเล็กๆ อาจต้องใช้เวลาในการรอรถแต่ละเที่ยวประมาณ 30 นาที รถโดยสารประจำทางที่สหรัฐอเมริกาจะมี 2 ประเภท คือ รถโดยสารขนาดเล็กซึ่งจะวิ่งให้บริการในระยะทางใกล้ๆ และรถโดยสารขนาดใหญ่ซึ่งจะวิ่งให้บริการในระยะที่ไกลขึ้น ในการเดินทางแต่ละครั้งนักศึกษาควรจะเตรียมเงินให้พอดีกับค่าเดินทางเนื่องจากคนขับรถจะไม่มีเงินทอน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วนักศึกษาที่แสดงบัตรประจำตัวนักศึกษาจะไม่ต้องเสียค่าโดยสาร หรือถ้าต้องเสียก็จะได้รับส่วนลดจากราคาปกติ

การบริการรถโดยสารประจำทางที่สหรัฐจะมีตารางเวลาการให้บริการที่แน่นอน ซึ่งนักศึกษาสามารถดูได้จากที่ป้ายรถโดยสาร นอกจากนี้ที่ป้ายรถโดยสารยังมีข้อมูลเกี่ยวกับประกาศวันหยุด ค่าโดยสาร รวมเบอร์โทรศัพท์สำหรับสอบถามรายละเอียดของเส้นทางและข้อมูลของรถโดยสารอีกด้วย

ระบบไฟฟ้า

สหรัฐอเมริกามีระบบไฟฟ้าแบบ 115 Volts, 60 Cycles ซึ่งแตกต่างจากประเทศไทย ถ้านักศึกษาต้องการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากเมืองไทยไปก็จำเป็นต้องหาซื้อเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Adapter) ไปด้วย

ระบบการศึกษา

การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสหรัฐอเมริกา

  • ตั้งแต่ปีที่ 9 –12 โดยทั่วไปแล้วเด็กจะมีอายุ 14/15 – 17/18 ปี
  • ภายหลังจบการศึกษาชั้นปีที่ 12 นักเรียนจะได้รับประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  • นักเรียนที่ไม่ได้รับประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายอาจเข้าทดสอบ General Education Development (GED) ซึ่งเป็นประกาศนียบัตรความสามารถทางด้านวิชาการในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

การศึกษาภายหลังระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสหรัฐอเมริกา

นักศึกษาจะต้องได้รับประกาศนียบัตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรความสามารถทางด้านวิชาการในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GED) ก่อนที่จะเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา นักศึกษาอาจจะเลือกเรียน 4 ปี เพื่อที่จะได้คุณวุฒิปริญญาตรี หรือเรียนเพียง 2 ปีเพื่อที่จะได้คุณวุฒิอนุปริญญาตรี

การศึกษาระดับอนุปริญญาตรี (Associate Degree)

การศึกษาระดับอนุปริญญาตรีอาจเป็นหลักสูตรโอนย้ายที่เทียบเท่ากับหลักสูตรปริญญาตรีในช่วงสองปีแรก หรือสองปีสุดท้าย ซึ่งเตรียมพร้อมนักศึกษาสำหรับอาชีพใดอาชีพหนึ่งโดยเฉพาะ

หลักสูตรสองปีที่วิทยาลัยชุมชนหรือวิทยาลัยเอกชน

ประเภทของคุณวุฒิ: อนุปริญญาตรีด้านศิลปศาสตร์ (Associate of Arts: AA) หรืออนุปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ (Associate of Science: AS)

นักศึกษาสามารถที่จะโอนย้ายไปศึกษาต่อได้ที่วิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตร 4 ปี

วิทยาลัยประจำท้องถิ่น (Community College) ซึ่งอาจเป็นของรัฐหรือเอกชน คือสถาบันที่ตั้งอยู่ในชุมชน และยังเป็นที่รู้จักในนามของวิทยาลัยประจำเขต (County College) วิทยาลัยทั่วไป (Junior College) วิทยาลัยเทคโนโลยี (Technology College) หรือวิทยาลัยประจำเมือง (City College)

การศึกษาระดับปริญญาตรี

การศึกษาระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกามีความยืดหยุ่นสูง โดยนักศึกษาสามารถเลือกสาขาได้อย่างหลากหลาย

ใช้ระยะเวลาศึกษา 4 ปีในวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยจะใช้คะแนนสอบ SAT หรือ ACT เป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณารับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ

โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระดับปริญญาตรีจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจะเป็นการเรียนวิชาพื้นฐาน ซึ่งประกอบด้วยวิชาหลักๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ มนุษยศาสตร์ วิทยาศาสตร์กายภาพและสังคมศาสตร์ ระยะที่สองจะให้ความสำคัญกับวิชาที่นักศึกษาเลือกเรียน หรือที่เรียกว่าวิชาเอก

ประเภทของปริญญาตรี ได้แก่ ศิลปศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Arts: BA), วิทยาศาสตร์บัณฑิต (Bachelor of Science: BS) และอื่นๆ

นักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อเก็บหน่วยกิตได้ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด (โดยปกติแล้ววิชาหนึ่งจะมี 3-4 หน่วยกิต) และสอบผ่านวิชาบังคับในสาขาวิชาเอก

สหรัฐอเมริกามีวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน ในขณะที่วิทยาลัยของรัฐได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล วิทยาลัยเอกชนก็ดำเนินงานด้วยเงินทุนของเอกชนและมีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็กกว่า ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยก็คือวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะมีขนาดเล็กกว่ามหาวิทยาลัย และเปิดสอนเฉพาะหลักสูตรระดับปริญญาตรี ในขณะที่มหาวิทยาลัยจะเปิดสอนหลักสูตรปริญญาโท – เอกด้วย

การศึกษาระดับปริญญาโท

การศึกษาระดับปริญญาโท ไม่ว่าจะเป็นสายวิชาการหรืออาชีพ นักศึกษาจะได้รับความรู้เพิ่มเติมและการฝึกอบรมในสาขาวิชาเฉพาะ หลักสูตรปริญญาโทจะมีให้เลือกหลากหลายสาขา

โดยทั่วไปแล้วการศึกษาระดับปริญญาโทจะใช้เวลา 2 ปี ในสาขาวิชาเฉพาะ

  • หลักสูตรปริญญาโทสายวิชาการ ได้แก่ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Arts: MA) และวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Science: MS)
  • หลักสูตรปริญญาโทสายอาชีพ ได้แก่ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (Master of Business Administration: MBA), ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Education: MEd), สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต (Master of Social Work: MSW) และอื่นๆ

มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะใช้คะแนนสอบ Graduate Record Examination (GRE ®  ) เป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณารับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ

สำหรับหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่จะใช้คะแนนสอบ Graduate Management Admissions Test (GMAT ®  ) เป็นเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณารับนักศึกษาเข้าศึกษาต่อ

การศึกษาภายหลังระดับปริญญาโท – เอก

นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วสามารถที่จะศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก ซึ่งรู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า (PhD.) ได้อย่างต่อเนื่อง การศึกษาภายหลังระดับปริญญาตรีในสหรัฐอเมริกาจะเป็นการศึกษาวิชาเฉพาะที่เข้มข้นกว่าหลักสูตรปริญญาตรี และถือว่านักศึกษาจะต้องมีความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาที่เลือกเรียนอยู่แล้ว


[/vc_column_text][vc_tabs][vc_tab title=”Boston” tab_id=”1406463290-1-49″][/vc_tab][vc_tab title=”Florida” tab_id=”1406463290-2-3″][/vc_tab][vc_tab title=”Los Angeles” tab_id=”1406465746076-2-9″][/vc_tab][vc_tab title=”New York ” tab_id=”1406465758003-3-5″][/vc_tab][vc_tab title=”San Francisco ” tab_id=”1406465771507-4-10″][/vc_tab][/vc_tabs][/vc_column][/vc_row]